วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พรบ. คอมพิวเตอร์


พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

อ้างอิงจาก

 http://www.cowboythai.com/forum/index.php?topic=1443.msg9206;topicseen

ลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์


SOPA หรือ ”ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์”

ระยะนี้เว็บไซต์ชื่อดังหลายเว็บไซต์ในสหรัฐอเมริกา ต่างพากันออกมาต่อต้านกฏหมาย SOPA หรือ ”ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์” กันมากมาย แล้ว SOPA คืออะไร และทำไมผู้ให้บริการเว็บไซต์ใหญ่ๆ ถึงให้ความสำคัญ
ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA – Stop Online Piracy Act) คือ ร่างกฏหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) ซึ่งมีจุดประสงค์คือ ต้องการหยุดการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต   เพื่อป้องกันการคัดลอกข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่อย่างมากมายบนอินเตอร์เน็ตครับ โดย SOPA จะทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ทางปัญญา เช่น ค่ายเพลง ค่ายหนัง สามารถฟ้องร้องต่อ การละเมิดลิขสิทธิ์ของตนได้ 
โดย นายลามาร์ สมิธ (Lamar Smith) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความสามารถของฝ่ายบังคับใช้กฎหมายและของผู้ถือลิขสิทธิ์ในอันที่จะต่อต้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและสินค้าปลอมในโลกออนไลน์ และอยู่ในขั้นตอนพิจารณาของคณะกรรมาธิการด้านการยุติธรรมแห่งสภาผู้แทนราษฎรอยู่ ซึ่งมีทีท่าว่าจะผ่านความเห็นชอบ ถึงแม้จะมีแนวโน้มว่าผู้ให้บริการเว็บไซต์หลายรายไม่เห็นด้วยก็ตาม
 
โดยมีประเด็นหลักๆของ SOPA เช่น
  • SOPA สั่งห้ามมิให้เว็บไซด์มีการส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์
  • SOPA สั่งห้ามมิให้ ผู้ให้บริการด้านการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บไซด์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์
  • SOPA สั่งห้ามมิให้ ผู้ให้บริการชำระค่าบริการออนไลน์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บไซด์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์
  • SOPA สั่งห้ามมิให้ Search Engine ทำ link การเชื่อมต่อไปยังเว็บไซด์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์
โดยมีผู้วิเคราะห์ว่าร่างรัฐบัญญัตินี้ให้อำนาจกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ (Department of Justice) และเจ้าของลิขสิทธิ์มากเกินไป เพราะสามารถขอให้ศาลสั่งปราบปรามบรรดาเว็บไซต์ที่ถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับการละเมิดลิขสิทธิ์ได้เต็มที่ ลองนึกภาพง่ายๆ ว่าต่อไปนี้สามารถสั่งห้ามบรรดาเครือข่ายโฆษณาออนไลน์ รวมถึงสั่งห้าม Search engine เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่อาจเข้าข่ายความผิดละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาเหล่านี้
 
ผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ทางปัญญา ต่างให้การสนับสนุนเพราะกฏหมายนี้จะเพิ่มศักยภาพให้แก่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ผู้ไม่เห็นด้วยก็ออกมาค้านว่า รัฐบัญญัตินี้มีนัยเป็นการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต (Internet Censorship) อันจะส่งผลให้โลกอินเทอร์เน็ตขาดศักยภาพ และคุกคามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วย
 
นั่นหมายความว่า บริษัทต่างๆ จะต้องรับผิดชอบทางกฏหมายสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้ใช้โพสต์ เว็บไซต์อย่าง Facebook, YouTube, Twitter, Wikipedia หรือเว็บไหนก็ตามที่เปิดให้ผู้ใช้เข้ามาสร้างเนื้อหาเองได้ ก็จะไม่รอดพ้นจากกฏหมายตัวนี้ และทันทีที่กฏหมายนี้ผ่านความเห็นชอบเป็นกฏหมายขึ้นมา องค์กรที่ออกตัวว่าเป็นผู้พิทักษ์สิทธิประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ต่างๆ ก็จะมีอำนาจในการสั่งปิดตัวเว็บไซต์ต่างๆได้ โดยมีผู้เสียประโยชน์ เช่น เว็บไซต์สารานุกรมเสรีอย่าง Wikipedia อาจถูกปิดตัวลง รวมทั้งเว็บไซต์อย่าง Google Youtube หรือ Facebook เนื่องจากไม่สามารถควบคุมเนื้อหาที่โพสขึ้นโดยผู้ใช้งานได้
ส่วนฝ่ายผู้ได้รับผลประโยชน์ เช่น สื่อดั้งเดิมต่างๆ ตัวอย่างเช่น สถานีโทรทัศน์ บริษัทผลิตภาพยนต์ และบรรดาค่ายเพลงต่างๆได้รับประโยชน์ โดยไม่มีใครเอารายการของพวกเขาไปอัพโหลดขึ้นเว็บสาธารณะอย่าง YouTube ได้
 
เมื่อมองในมุมนี้ ผู้ประกอบการเว็บไซต์และผู้เชียวชาญด้านเว็บไซต์หลายราย ต่างเห็นว่า เป็นการถอยหลังลงคลองหรือเปล่า กฏหมายลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ดี เราเคารพมัน แต่กฏหมาย SOPA เข้มงวดเกินไปจนขัดขวางความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แล้วโลกไร้พรมหแดนจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
 
ล่าสุด 17 มกราคม 2555 ร่างกฏหมาย SOPA ถูกยุติการเสนอร่างต่อวุฒิสภาสหรัฐฯอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางกลุ่มผู้แทนอีกกลุ่มหนึ่งกำลังเสนอร่างกฏหมายลักษณะเดียวกัน นั่นคือร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองไอพี (Protect IP Act) หรือ PIPA ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่การบล็อค DNS เมื่อได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่เช่นกัน
 
การปิดเว็บไซต์ประท้วงของวิกิพีเดียครั้งนี้ เกิดขึ้นบนความหวังให้ชาวออนไลน์ในสหรัฐฯเข้าใจถึงร่างกฏหมายทั้ง 2 ฉบับ ทั้ง SOPA ที่เพิ่งแท้งไป และ PIPA ที่วิศวกรอินเทอร์เน็ตจำนวนหนึ่งออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย ซึ่งชาวออนไลน์ควรต้องเข้าใจและรับทราบความเปลี่ยนแปลงที่จะตามมานั่นเอง
 
 
อ้างอิงจาก
 

การโฆษณาออนไลน์ คือ





การโฆษณาออนไลน์ คือ การสร้างความสนใจไม่ว่าวิธีใดก็ตาม เพื่อจูงใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการโดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต รูปแบบการโฆษณาที่เป็นที่นิยมที่สุดบนสื่อออนไลน์ คือการใช้แถบโฆษณา การโฆษณารูปแบบนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไปตามเว็บไซต์ต่างๆ และถ้าเจ้าของสินค้าต้องการเพิ่มความเด่นให้กับโฆษณาของตนเอง ก็อาจจะเลือกใช้สื่อโฆษณาแบบลอย และในบางกรณี เจ้าของสินค้าหรือบริการอาจจะไม่อยากตั้งใจขายสินค้าของตนเองอย่างจงใจ ก็สามารถเลือกการโฆษณาแฝงตามสื่อออนไลน์ในรูปแบบอื่น[


อ้างอิงจาก

E-Commerce คืออะไร




E-Commerce คืออะไร
        
         Electronic Commerce หรือ E-Commerce คือ การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยส่งข้อมูล ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเครือข่าย เช่น Internet ถ้าผู้ใช้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ คู่สายโทรศัพท์ โมเด็ม และเป็นสมาชิกของบริการ Internet ก็สามารถทำการค้าผ่านระบบเครือข่ายได้ E-Commerce เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี Internet กับการจำหน่ายสินค้า และบริการ โดยสามารถนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการผ่านทาง Internet สู่คนทั่วโลกภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้การดำเนินการซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น



อ้างอิงข้อมูลจาก

         http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g18/E-commerce%20web/page/index03.html

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ

ข้อที่ 1) ข้อใดเป็นประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต 1. เป็นแหล่งสำหรับค้นหาความรู้ขนาดใหญ่ 2. สามารถสื่อสารกันเพื่อนๆ ที่อยู่ห่างไกลได้ในเวลาอันสั้น 3. มีของฟรีแจกจ่าย เช่น ไฟล์ติดตั้งโปรแกรม 4. ถูกทุกข้อ ข้อที่ 2) โปรโตคอล หรือ ภาษากลางที่ใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น คือ โปรโตคอลใด 1. โปรโตคอล HTTP 2. โปรโตคอล XML 3. โปรโตคอล TCP/IP 4. ไม่มีข้อใดถูก ข้อที่ 3) ข้อใดคือความหมายของคำว่า "โดเมนเนม " (Domain Name) 1. เป็นชื่อโปรโตคอลที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกัน 2. เป็นชื่อข้อมูลแต่ละชิ้นที่ส่ง-ไปตามเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 3. เป็นชื่อที่ใช้เรียกแทนตัวเลขไอพีแอดเดรสของเครื่อง 4. ไม่มีข้อใดถูก ข้อที่ 4) 192.168.1.99 หมายเลขดังกล่าวคืออะไร 1. หมายเลขประจำเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2. หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ 3. หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเครือข่าย 5. หมายเลขประจำเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อที่ 5) ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1. โมเด็ม 2. เครื่องลูกข่าย (Client) 3. เครื่องเซิร์ฟเวอร์ 4. เครื่องเวิร์คสเตชั่น ข้อที่ 6) สาย Lead Line เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ณ สถานที่ใด 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของที่บ้าน 2. ในองค์กรหรือบริษัทที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง 3. ในสถานศึกษาที่ให้บริการห้องคอมพิวเตอร์ 4. ถูกทั้ง ข และ ค ข้อที่ 7) สำหรับ URL ของเว็บเพจ http://www.singburivc.ac.th/home/index.php ส่วนใด คือส่วนที่เป็น Host name ของ URL 1. http 2. www.singburivc.ac.th 3. home 4. index.php ข้อที่ 8) สำหรับ URL ของเว็บเพจ http://www.singburivc.ac.th/home/index.php ส่วนใดคือส่วนที่เป็น "ส่วนระบุตำแหน่ง" ของ URL 1. http 2. www.singburivc.ac.th 3. home 4. index.php ข้อที่ 9) สำหรับตัวย่อนามสกุลชอง URL ที่เป็น .net นั้น บอกเราได้ว่าเจ้าของเว็บไซต์มาจากองค์กรใด 1. เป็นบริษัท 2. เป็นองค์กรรัฐบาล 3. เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย 4. เป็นสถาบันการศึกษา ข้อที่ 10) เว็บไซต์ www.boga.gov บอกเราได้ว่าเจ้าของเว็บไซต์มาจากองค์กรใด 1. เป็นบริษัท หรือองค์กรพาณิชย์ 2. เป็นองค์กรรัฐบาล 3. เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย 4. เป็นสถาบันการศึกษา ข้อที่ 11) ปุ่มคำสั่งใดบน Inrenet Explorer ที่ควรเลือกใช้ เมื่อมีปัญหาในการโหลดเว็บเพจ 1. ปุ่ม Favorites 2. ปุ่ม History 3. ปุ่ม Refresh 4. ปุ่ม Search ข้อที่ 12) หากต้องการกระโดดไปยังหน้าเว็บเพจที่เคยเปิดชมเมื่อวานนี้ ควรเลือกใช้ปุ่มคำสั่งใด 1. ปุ่ม Go To 2. ปุ่ม History 3. ปุ่ม Refresh 4. ปุ่ม Search ข้อที่ 13) ป๊อบอัพ คืออะไร 1. เป็นหน้าคำเตือนของ lnternet Explorer ก่อนเข้าใช้งานเว็บไซต์ 2. ไวรัสประเภทหนึ่งเมื่อเราเข้าไปยังเว็บไซต์ใต้ดินต่าง ๆ 3. หน้าต่างเว็บใหม่ที่เปิดขึ้นมาในระหว่างที่เราท่องเว็บอยู่ 4. โปรแกรมเสริมการทำงาน ข้อที่ 14) เราจะดาวน์โหลดไฟล์ในอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยได้อย่างไร 1. เลือกเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ และรู้จักกันดี 2. เลือกเว็บไซต์ที่มีไฟล์ให้ดาวน์โหลดจำนวนมาก 3. กำหนดให้มีการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการดวาน์โหลด 4. ถูกทั้ง ก และ ค. ข้อที่ 15) www.google.co.th สามารถค้นหาสิ่งใดได้บ้างบนอินเทอร์เน็ต 1. เว็บเพจและไฟล์ภาพ 2. ไฟล์ภาพและกลุ่มข่าว 3. ไฟล์ชนิดต่างๆ อย่างเจาะจง 4. ถูกทุกข้อ ข้อที่ 16) ไฟล์วอล์ (Firewall) คืออะไร 1. ระบบป้องกันผู้บุกรุก 2. ระบบป้องกันไวรัส 3. ระบบป้องกันไฟฟ้า 4. ระบบป้องกันไฟเกิน ข้อที่ 17) การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ตมีกี่รูปแบบ 1. 2 รูปแบบ 2. 3 รูปแบบ 3. 4 รูปแบบ 4. 5 รูปแบบ ข้อที่ 18) โปรแกรมใดไม่ใช่โปรแกรมสำหรับสนนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต 1. Windows Live Messenger 2. Yahoo Messenger 3. sanook QQ 4. Internet Explprer ข้อที่ 19) ไวรัสคอมพิวเตอร์ คืออะไร 1. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ 3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พยายามเข้ามาในเครื่อง 4. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานผิดพลาด ข้อที่ 20) ข้อใดไม่ใช่โปรแกรม Anti Virus 1. Norton 2. Nero 3. Mcafee 4. Nod32 ข้อที่ 21) Bit torrent คืออะไร 1. โปรแกรมแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านระบบเครือข่าย 2. โปรแกรมแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต 3. โปรแกรมรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย 4. โปรแกรมรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ข้อที่ 22) ข้อใดเป็นโปรแกรมประเภท Bit torrent 1. Download Manager 2. Bit Comet 3. Bit Tracker 4. Orbit ข้อที่ 23) E - Mail คืออะไร 1. จดหมายทางไกล 2. จดหมายอินเทอร์เน็ต 3. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 4. จดหมายข้อมูล ข้อที่ 24) ข้อใดไม่ใช่ E - Mail 1. singburi@singburivc.ac.th 2. Singburi.sing@singburivc.com 3. singburi.singburivc.ac.th 4. Singburi-123@singburivc.ac.th ข้อที่ 25) เว็บใดไม่สามารถสมัครใช้บริการ E - Mail ได้ 1. www.singburivc.ac.th 2. www.hotmail.com 3. www.yahoo.com 4. www.gmail.com เขียนโดย rose ที่ 22:22 0 ความคิดเห็น ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แบ่งปันไปที่ Twitterแบ่งปันไปที่ Facebook ทดสอบความรู้ 50 ข้อ คำชี้แจง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว 1. ข้อใดให้ความหมายของอินเทอร์เน็ตได้ถูกต้องที่สุด ก. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ข. ไซเบอร์สเปช ค. กลุ่มของคอมพิวเตอร์ ง. การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง 2. การพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบอินเตอร์เน็ต เริ่มขึ้นครั้งแรกที่ประเทศใด ก. รัสเซีย ข.สหรัฐอเมริกา ค.เยอรมัน ง.ฝรั่งเศส 3. สัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณชนิดใด ก.อนาล็อก ข.ดิจิตอล ค.ไฮบริค ง.ไฟฟ้า 4.ข้อใดเป็นประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต ก.เป็นแหล่งสำหรับค้นหาความรู้ขนาดใหญ่ ข.สามารถสื่อสารกันเพื่อนๆ ที่อยู่ห่างไกลได้ในเวลาอันสั้น ค.มีของฟรีแจกจ่าย เช่น ไฟล์ติดตั้งโปรแกรม ง.ถูกทุกข้อ 5.โมเด็ม คืออะไร ก. อุปกรณ์แปลงสัญญาณชนิดหนึ่ง ข.เครื่องมือในเล่นอินเตอร์เน็ต ค.เครื่องมือในการส่งข้อมูล ง.อุปกรณ์แปลงสัญญาณทั้งสัญญาณ อะนาล็อกและดิจิตอล 6.อุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนทางด่วนของข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ตคือข้อใด ก.สายโทรศัพท์ ข.สายสัญญาณ ค.สายไฟฟ้า ง. Hub 7.ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์คือข้อใด ก. อาร์พาเน็ต ข. โพรโทคอล ค.ไอพีแอดเดรส ง. ไทยสาร 8.World Wide Web (www) มีความหมายตรงกับข้อใด ก. Web ระดับสากลหรือ web ระดับโลก ข.การเชื่อมต่อสายสัญญาณไปทั่วโลก ค.รูปแบบของอินเตอร์เน็ตอีกแบบหนึ่ง ง.การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบใยแมงมุม 9. IP Address หมายถึงข้อใด ก.หมายเลยประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่าย ข.โพรโทคอลที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ค.หมายเลขประจำของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ง.ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต 10.ส่วนใดของโปรแกรม Internet Explorerที่ใช้ในการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ ก.E-Mail ข.Address คSearch Web ง. Menu bar 11.ชื่อของ Web site ที่ลงท้ายด้วย .ac.th ตรงกับข้อใด ก. เป็น Web ที่เกี่ยวกับการศึกษาในประเทศไทย ข. เป็น Web ที่เกี่ยวกับผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทย ค. เป็น Web ที่เกี่ยวองค์กรของรัฐในประเทศไทย ง. เป็น Web ที่เป็นหน่วยงานเอกชน 12.ในโปรแกรม Internet Explorer ปุ่มเครื่องมือ Refresh ทำหน้าที่อะไร ก. ไปยังเวปหน้าถัดไป ข. หยุดการดาวน์โหลดข้อมูล ค. ดาวน์โหลดข้อมูลในหน้านั้นใหม่อีกครั้ง ง กลับไปยังเว็บเพจหน้าที่ผ่านมา 13.หน้าแรกของเว็บเพ็จ (Web Page) เรียกว่าอะไร ก. http ข.Home Page ค.Web Site ง.Home Site 14.ข้อใดคือตัวอย่างของเว็ป Search Engine ก.narak.com ข.chaiyo.com ค.google.co.th ง.thaiware.com 15.คำสั่งใดใช้ในการเก็บเว็บไซต์ที่น่าสนใจไว้ใช้งานครั้งต่อไปอย่างรวดเร็ว ก.History ข.Search ค.Favorites ง.Refresh 16.การปรับภาษาให้เป็นภาษาไทย ใช้คำสั่งใด ก.Encoding ข.go to ค.Favorites ง.Refresh 17.ข้อใดเป็นบริการที่เราสามารถใช้ได้บนอินเตอร์เน็ต ก.อ่านข่าวสาร ความรู้และบันเทิง ข.รับส่งข้อความและสั่งซื้อสินค้า ค.ดูหนังฟังเพลงและเล่นเกม ง.สามารถใช้บริการได้ทุกข้อ 18.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หมายถึงข้อใด ก.การพิมพ์จดหมายด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ข.การส่งข้อความถึงกันโดยส่งผ่านคอมพิวเตอร์ ค.จดหมายที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ง.การใช้ครื่องคอมพิวเตอร์ส่งจดหมาย 19.E - mail ย่อมาจากคำว่าอะไร ก.Economic Mail ข.Explorer Mail ค.Education Mail ง.Electronic Mail 20.ข้อใดคือความหมายของคำว่า "โดเมนเนม " (Domain Name) ก. เป็นชื่อโปรโตคอลที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกัน ข.เป็นชื่อข้อมูลแต่ละชิ้นที่ส่ง-ไปตามเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ค.เป็นชื่อที่ใช้เรียกแทนตัวเลขไอพีแอดเดรสของเครื่อง ง.ไม่มีข้อใดถูก 21. 192.168.1.99 หมายเลขดังกล่าวคืออะไร ก. หมายเลขประจำเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ข.หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ค.หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเครือข่าย ง.หมายเลขประจำเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 22. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก.โมเด็ม ข. เครื่องลูกข่าย (Client) ค. เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ง. เครื่องเวิร์คสเตชั่น 23. สาย Lead Line เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ณ สถานที่ใด ก.เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของที่บ้าน ข.ในองค์กรหรือบริษัทที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง ค.ในสถานศึกษาที่ให้บริการห้องคอมพิวเตอร์ ง. ถูกทั้ง ข และ ค 24. http://www.samakkee.ac.th/home/index.php ส่วนใด คือส่วนที่เป็น Host name ของ URL ก.http ข.www.samakkee.ac.th ค.home ง.index.php 25. http://www.samakkee.ac.th/home/index.php ส่วนใดคือส่วนที่เป็น "ส่วนระบุตำแหน่ง" ของ URL ก.http ข.www.samakkee.ac.th ค.home ง.index.php 26. สำหรับตัวย่อนามสกุลของ URL ที่เป็น .net นั้น บอกเราได้ว่าเจ้าของเว็บไซต์มาจากองค์กรใด ก.บริษัท ข.องค์กรรัฐบาล ค.องค์กรที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย ง.สถาบันการศึกษา 27. เว็บไซต์ www.boga.gov เป็นเว็บไซต์มาจากองค์กรใด ก.บริษัท หรือองค์กรพาณิชย์ ข.องค์กรรัฐบาล ค.องค์กรที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย ง.สถาบันการศึกษา 28. ปุ่มคำสั่งใดบน Inrenet Explorer ที่ควรเลือกใช้ เมื่อมีปัญหาในการโหลดเว็บเพจ ก.ปุ่ม Favorites ข.ปุ่ม History ค.ปุ่ม Refresh ง.ปุ่ม Search 29. หากต้องการกระโดดไปยังหน้าเว็บเพจที่เคยเปิดชมเมื่อวานนี้ ควรเลือกใช้ปุ่มคำสั่งใด ก.ปุ่ม Go To ข.ปุ่ม History ค.ปุ่ม Refresh ง.ปุ่ม Search 30. ป๊อบอัพ คืออะไร ก.เป็นหน้าคำเตือนของ lnternet Explorer ก่อนเข้าใช้งานเว็บไซต์ ข.ไวรัสประเภทหนึ่งเมื่อเราเข้าไปยังเว็บไซต์ใต้ดินต่าง ๆ ค.หน้าต่างเว็บใหม่ที่เปิดขึ้นมาในระหว่างที่เราท่องเว็บอยู่ ง.โปรแกรมเสริมการทำงาน 31. การดาวน์โหลดไฟล์ในอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยควรปฏิบัติอย่างไร ก.เลือกเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ และรู้จักกันดี ข.เลือกเว็บไซต์ที่มีไฟล์ให้ดาวน์โหลดจำนวนมาก ค.กำหนดให้มีการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการดาวน์โหลด ง.ถูกทั้ง ก และ ค. 32. www.google.co.th สามารถค้นหาสิ่งใดได้บ้างบนอินเทอร์เน็ต ก.เว็บเพจและไฟล์ภาพ ข.ไฟล์ภาพและกลุ่มข่าว ค.ไฟล์ชนิดต่างๆ อย่างเจาะจง ง.ถูกทุกข้อ 33. ไฟล์วอล์ (Firewall) คืออะไร ก.ระบบป้องกันผู้บุครุก ข.ระบบป้องกันไวรัส ค.ระบบป้องกันไฟฟ้า ง.ระบบป้องกันไฟเกิน 34. การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ตมีกี่รูปแบบ ก.2 รูปแบบ ข.3 รูปแบบ ค.4 รูปแบบ ง.5 รูปแบบ 35.โปรแกรมใดไม่ใช่โปรแกรมสำหรับสนนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต ก.Windows Live Messenger ข. Yahoo Messenger ค.sanook QQ ง. Internet Explprer 36.ไวรัสคอมพิวเตอร์ คืออะไร ก.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ข.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ ค.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พยายามเข้ามาในเครื่อง ง.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานผิดพลาด 37.Bit torrent คืออะไร ก.โปรแกรมแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านระบบเครือข่าย ข.โปรแกรมแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต ค.โปรแกรมรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ง.โปรแกรมรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต 38.ข้อใดเป็นโปรแกรมประเภท Bit torrent ก.Download Manager ข.Bit Comet ค.Bit Tracker ง. Orbit 39.เว็บใดไม่สามารถสมัครใช้บริการ E - Mail ได้ ก. www.samakkee.ac.th ข.www.hotmail.com ค. www.yahoo.com ง.www.gmail.com 40. การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใช้กฎระเบียบในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เรียกว่าอะไร ก. Protocol ข. IP ค. TCP ง. TCP/IP 41. E- Commerce คือการให้บริการด้านใดในอินเทอร์เน็ต ก. การผลิต ข. การตลาด ค. การศึกษา ง. การเงิน 42. บริการใดในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการในการส่งถ่ายแฟ้มระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ก. Telnet ข. IRC ค. Gopher ง. FTP 43. บริการด้านใดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการดาวน์โหลดข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายทั่วโลก ก. WWW ข. E-Mail ค. FTP ง. Web Board 44. บริการด้านใดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการในการประชุมทางไกล ก.E-Mail ข FTP ค.Web Board ง. Telnet 45. บริการด้านใดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ทำให้คนเราสามารถสืบค้นข้อมูลจากเครือข่ายต่าง ๆ ทั่วโลกได้ ก. WWW ข.E-Mail ค. FTP ง.Web Board 46. บริการด้านใดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ทำให้คนเราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ก. WWW ข.E-Mail ค. FTP ง.Web Board 47.ข้อใดคือชื่อของโปรแกรมที่เป็น Web Browser ก. Internet Explorer ข. Windows Explorer ค. HTML ง. JAVA 48. ข้อใดคือชื่อที่กำหนดให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพื่อใช้แทน IP Address ก. Web Site ข. Web Page ค.Home Page ง. Domain Name 49. ข้อใดคือชื่อเว็บไซต์ที่เป็นองค์กรทางการศึกษา ก. WWW.Boga.go.th ข. WWW.bncc.ac.th ค. WWW.Google.com ง. WWW.gng.net 50. ISP คืออะไร ก. อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ข. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ค. ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ง. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต